องค์การบริหารส่วนตำบลแจ้ห่ม อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติความเป็นมา
ตราสัญลักษณ์
วิสัยทัศน์/ยุทธศาสตร์การพัฒนา
แผนยุทธศาสตร์/แผนพัฒนาหน่วยงาน
โครงสร้าง
ข้อมูลผู้บริหาร
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
อำนาจหน้าที่
กิจการสภา
กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
นโยบายผู้บริหาร
นโยบายคุณธรรม
ข้อมูลท่องเที่ยว
สินค้าท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
บุคลากร
หัวหน้าส่วนราชการ
สมาชิกสภา
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
การเสริมสร้างวัฒนธรรมในองค์กร
แผนดำเนินงาน
แผนยุทธศาสตร์/แผนพัฒนาหน่วยงาน
แผนดำเนินงานประจำปี
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
คู่มือ/มาตรฐานการปฏิบัติงาน
คู่มือ/มาตรฐานการให้บริการ
แนวปฏิบัติการจัดการร้องเรียนทุจริตและประพฤติมิชอบ
รายงานผล
การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต
การกำกับติดตามการดำเนินงานประจำปี รอบ6เดือน
ผลการดำเนินงานประจำปี
การกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี รอบ6เดือน
ผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
ผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
ผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือจัดหาพัสดุประจำปี
ผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
การกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี รอบ6เดือน
ผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือจัดหาพัสดุรายเดือน
ประมวลภาพกิจกรรม
บริการประชาชน
ข้อมูลการติดต่อ
ช่องทางการรับฟังข้อคิดเห็น
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องการร้องเรียนการทุจริต
คู่มือประชาชน
สายตรง นายก อบต.
ถามตอบ Q&A
ร้องเรียน-ร้องทุกข์
ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
E-Service
ภาพกิจกรรม
สำหรับเจ้าหน้าที่
อำนาจหน้าที่
"องค์การบริหารส่วนตำบลแจ้ห่ม"
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖ พ.ศ.๒๕๕๒)
๑. พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ( มาตรา ๖๖)
๒. มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา ๖๗ ดังนี้
(๑) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
(๒) การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(๓) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
(๔) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๕) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
(๖) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
(๗) คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๘) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร
๓. มีหน้าที่ที่อาจจัดทำกิจการในเขต อบต. ตามมาตรา ๖๘ ดังนี้
(๑) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร
(๒) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(๓) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
(๔) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
(๕) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์
(๖) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
(๗) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
(๘) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
(๙) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
(๑๐) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
(๑๑) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
(๑๒) การท่องเที่ยว
(๑๓) การผังเมือง
๔. อำนาจหน้าที่ของ อบต. ตามมาตรา ๖๖ มาตรา ๖๗ และมาตรา ๖๘ นั้น ไม่เป็นการตัดอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐที่จะดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบล แต่ต้องแจ้งให้ อบต. ทราบล่วง หน้าตามสมควร หาก อบต. มีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าวให้นำความเห็นของ อบต. ไปประกอบการพิจารณาดำเนิน กิจการนั้นด้วย ( มาตรา ๖๙)
๕. มีสิทธิได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของทางราชการในตำบล เว้นแต่ข้อมูล หรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับ การรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ( มาตรา ๗๐)
๖. อบต.อาจออกข้อบัญญัติ อบต.เพื่อใช้บังคับในเขต อบต.ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของ อบต. หรือเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้ อบต.ออกข้อบัญญัติหรือให้มีอำนาจออกข้อบัญญัติ โดยจะกำหนดค่า ธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บ และกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ แต่มิให้กำหนดโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ( มาตรา ๗๑)
๗. อาจขอให้ราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยการบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่นไปดำรงตำแหน่งหรือปฎิบัติกิจการของ อบต. เป็นการชั่วคราวได้โดยไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม ( มาตรา ๗๒)
๘. อาจทำกิจการนอกเขต อบต. หรือร่วมกับสภาตำบล อบต. อบจ. หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทำ กิจการร่วมกันได้ ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจาย อำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒
- มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา ๑๖ ดังนี้
๑. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
๒. การจัดให้มี และบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ
๓. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
๔. การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ
๕. การสาธารณูปการ
๖. การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
๗. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
๘. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
๙. การจัดการศึกษา
๑๐. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
๑๑. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
๑๒. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
๑๓. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
๑๔. การส่งเสริมกีฬา
๑๕. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๑๖. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
๑๗. การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
๑๘. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
๑๙. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
๒๐. การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
๒๑. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
๒๒. การจัดให้มี และควบคุมการฆ่าสัตว์
๒๓. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
๒๔. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๒๕. การผังเมือง
๒๖. การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
๒๗. การดูแลรักษาที่สาธารณะ
๒๘. การควบคุมอาคาร
๒๙. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๓๐. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอกภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
๓๑. กิจอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด